วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

การเข้าใจตนเองและผู้อื่น


การรับรู้ (Perception)



ความหมาย

          การรับรู้ คือ การตีความหมายการรับสัมผัสออกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายธรรมชาติของการ
รับรู้

ธรรมชาติของการรับรู้

  • การรับรู้เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้
  • การรับรู้เป็นสิ่งที่เลือกสรร


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้

     ปัจจัยด้านตัวผู้รับรู้

  • ความพร้อมของประสาทสัมผัส
  • ประสบการณ์เดิม
  • ความสนใจ
  • ความคาดหวัง
  • ความต้องการ
  • การเห็นคุณค่า

   
     ปัจจัยด้านลักษณะสิ่งเร้า

  • ความเข้มและขนาด
  • ความผิดแผกกัน
  • การกระทำซ้ำ
  • การเคลื่อนไหว
  • การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า
  • ความโดดเด่น 


หลักการจัดระเบียบสิ่งเร้า

  • หลักความใกล้ชิด (proximity)
  • หลักความคล้าย (similarity)
  • หลักความต่อเนื่อง (continuity)
  • หลักการต่อเติม (closure)


การรับรู้ภาพและพื้น (Figure-Ground Perception)

     สิ่งเร้าใดที่เราใส่ใจ จะปรากฏโดดเด่นในความรู้สึก เปรียบเหมือนภาพ (figure) ส่วนสิ่งเร้าอื่นๆที่
เราไม่ใส่ใจ เราจะรู้สึกถึงมันลางเลือน เปรียบเหมือนเป็นพื้น (ground) ภาพและพื้นนั้นอาจเปลี่ยน
กลับไปกลับมาได้ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้นเราใส่ใจสิ่งเร้าใดมากกว่ากัน

ภาพลวงตา (perceptual illusions)

     เป็นการรับรู้ทางสายตาที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง อันเนื่องมาจากสิ่งเร้า

อาการประสาทหลอน (hallucinations)

     หมายถึง การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้รส หรือ การรู้สึกทางกาย โดยไม่มีสิ่งเร้าอยู่จริง
เกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่ตื่นหรือในขณะที่หลับ อาจมีสาเหตุมาจากสารกระตุ้นประสาท การมีไข้สูง หรือการ
ขาดสิ่งเร้ากระตุ้น

การรับรู้ลักษณะตนเอง (Self – Perception)

   
     การรับรู้ลักษณะของตนเกิดจากการตีความข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายของตน พฤติกรรมของ
ตน และคำวิจารณ์ของผู้อื่นที่มีต่อตน รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้รับ อันจะก่อให้เกิดการรับรู้ว่าตนเป็นคนดี
หรือไม่ มีความสามารถมากน้อยเพียงใด การรับรู้ตนเองจะก่อให้เกิดอัตมโนทัศน์ (self-concept) หรือ
ความคิดเห็นที่มีต่อตนเอง
     บุคคลที่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่กระทำและได้รับคำชมเชยจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มี
การรับรู้ที่ดีต่อตนเอง และรู้สึกว่าตนมีคุณค่า
ถ้าบุคคลทำสิ่งใดผิดหรือประสบความล้มเหลว ได้รับการตำหนิ ก็จะเกิดความรู้สึกด้อย มีการรับรู้
เกี่ยวกับตนเองในแง่ลบ ผู้ที่มีการรับรู้แบบนี้มากๆหรือบ่อยๆ จะเป็นบ่อเกิดของปมด้อยและความไม่
เชื่อมั่นในตนเอง
     อย่างไรก็ตาม การรับรู้เกี่ยวกับข้อบกพร่องของตนก็มีประโยชน์ในการช่วยให้บุคคลพิจารณาสิ่ง
ต่างๆได้ตรงต่อข้อเท็จจริง ไม่หลอกตัวเอง และยังเป็นการสร้างภูมิต้านทานต่อความผิดหวังหรือสูญเสีย
ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต

การรับรู้ลักษณะบุคคล (Person Perception)



ข้อมูลสำหรับการรับรู้ลักษณะบุคคล


   
     ในชีวิตประจำวันเราอาศัยข้อมูล 3 ประการ คือ
     - ลักษณะทางกายภาพ
     - พฤติกรรม
     - คำบอกเล่าของผู้อื่น
     ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ประการนี้ล้วนมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้เสมอ



วิธีการที่ใช้ในการรับรู้ลักษณะบุคคล


     - การรับรู้ภาพพจน์ (Stereotype) ภาพพจน์ หมายถึง ลักษณะเด่นที่บุคคลรับรู้ต่อกลุ่ม
บุคคลหรือต่อสถาบันตามที่แต่ละคนมีประสบการณ์ต่อสิ่งเร้านั้น มักรับรู้ในลักษณะเหมารวม
(Generalization) โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของภาพพจน์นั้น
     
     - การรับรู้ภาพพจน์กลุ่มตัวเอง (Autostereotype) มักมีลักษณะเป็นบวก มีผลต่อการรับรู้
ลักษณะบุคคลในกลุ่ม และพฤติกรรมระหว่างกลุ่ม โดยเฉพาะในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การ
ที่ประเทศหนึ่งเลือกกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการรับรู้
ภาพพจน์ของผู้นำในประเทศทั้งสอง
   
     - การรับรู้ลักษณะแกน (Central Traits) ลักษณะแกน ได้แก่ คำคุณศัพท์ที่เด่นชัดที่สุดใน
การบ่งบอกถึงลักษณะของคนที่เรารับรู้ มีลักษณะคล้ายภาพพจน์
     
     - การรับรู้ลักษณะทางกายภาพ คนเรามีแนวโน้มที่จะรับรู้ลักษณะทางร่างกายของคน ๆ
หนึ่งควบคู่ไปกับลักษณะทางจิตใตบางอย่างของคนๆนั้น
   
      - ผลลำเอียงทางดี (Halo Effect) เป็นปรากฏการณ์ที่บุคคลมักจะปล่อยให้ลักษณะเด่น
ทางบวกของบุคคลที่ถูกรับรู้เข้ามามีอิทธิพลในการพิจารณาลักษณะอื่นของเขาให้เห็นลักษณะอื่นดีไป
ด้วย ถ้าเป็นในทางกลับกัน เรียกว่า ผลลำเอียงทางลบ (Horn Effect)
 
      - การรับรู้ภาษาท่าทาง (Body Language Perception)
          - การแสดงสีหน้า (facial expression) เป็นกระจกสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก อารมณ์
พื้นฐานของมนุษย์มี 6 อย่าง คือ สุข เศร้า ประหลาดใจ กลัว โกรธ ขยะแขยง
          - การประสานตา (eye contact)
          - อากัปกิริยา (body movement)
          - การสัมผัส (touching)
          - ขอบเขตส่วนบุคคล (personal space)







แหล่งอ้างอิง

  • เติมศักดิ์ คทวณิช. จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพมหานครฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2550.
  • โยธิน ศันสนยุทธ และคณะ. จิตวิทยา กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2533.
  • http://webspace.ship.edu/cgboer/personpercept.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น